เด็กวัย 1 ขวบควรมีของเล่นหรือยัง?

คุณลักษณะของของเล่นที่ดี มีดังนี้

1. เหมาะสมกับวัย มีความสามารถดึงความสนใจของเด็ก และเหมาะกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย
2. ของเล่นที่เปิดโอกาสให้เด็กได้จะพัฒนาประสาทสัมผัส พัฒนาความคิด การเลียนแบบ การสร้างจินตนาการอย่างสร้างสรรค์
3. ของเล่นที่เล่นได้ทุกวัย เช่น ฟุตบอล ตุ๊กตา บล็อกไม้โดยรูปแบบการเล่นจะแตกต่างกันไปตามวัย
4. ทนทาน สามารถล้างและทําความสะอาดได้ง่าย
5. ปลอดภัย ปราศจากสารพิษ

การเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

แรกเกิด-3 เดือน: ของเล่นที่เหมาะกับลูกวัยนี้ คือ ของเล่นที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การดมกลิ่น การรับรสเด็กแรกเกิดเริ่มมองเห็นแล้วในระยะ 8-12 นิ้ว ชอบสีสันที่สดใส ชอบมองการเคลื่อนไหว ได้ยินเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และจะมีการเปลี่ยนแปลง ที่แสดงให้เห็นในด้านการเคลื่อนไหวเมื่อได้ยินเสียง เช่น การหันหาเสียง การขยับมือขยับเท้า แยกความ รู้สึกสัมผัสที่แตกต่างและรับรู้กลิ่นของพ่อแม่ไปพร้อมกันด้วย การศึกษาในต่างประเทศพบว่าเด็กจะมีการ ตอบสนองที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเมื่อได้กลิ่นของคนเลี้ยงกับคนแปลกหน้า ดังนั้นในวัยนี้พ่อแม่และ คนเลี้ยงจึงเป็นของเล่นที่ดีที่สุด ลูกจะชอบมองหน้าคน พ่อแม่ควรจะอุ้มพูดคุยขณะกําลังเปลี่ยนผ้าอ้อม ร่วมกับการมองหน้าสบตาร้องเพลงกล่อมลูกด้วยน้ําเสียงสูงๆ ต่ําๆ โทนเสียงที่นุ่มนวล ลูกจะเพลิดเพลิน ประกอบการเล่นแบบไทยๆ เช่น การเล่นปูไต่ จะเป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสทางผิวหนัง พัฒนาการ ด้านภาษาและการพูดสื่อสาร ทักษะด้านสังคมโดยเฉพาะการมองหน้าสบตา และการมีปฏิสัมพันธ์ทาง สังคมอย่างเหมาะสมกับพ่อแม่ การแขวนของเล่นชนิดแขวนให้ลูกดู เช่น แขวนปลาตะเพียน ซึ่งขบวนการ เล่นดังกล่าวจะเสริมสร้างความรักความผูกพัน ตลอดจนช่วยให้ลูกสามารถเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเองได้ดี ขึ้น นอกจากนั้นในบางครั้งลูกวัยนี้อาจชอบมองกระจกดูหน้าตัวเองที่เปลี่ยนแปลงไป บางคนจะยิ้ม บาง คนจะเป่าปากทําให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงตัวเองกับสิ่งแวดล้อม

4-6 เดือน: ลูกวัยนี้จะเริ่มมีการเล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายและซับซ้อนมากขึ้น ลูกเริ่มมีความสังเกต มากขึ้น สนใจในการเคลื่อนไหวของแขนและขาของตน ดังนั้นการร้องเพลงที่มีการเคลื่อนไหว เช่นเพลง โยกเยกเอย จะเหมาะกับลูกในช่วงวัยนี้ ลูกจะเริ่มคว้าของใกล้ตัว และชอบที่จะสัมผัสพื้นผิวที่แตกต่าง มีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งรอบตัวมากขึ้น กรุ้งกริ้งที่สั่นแล้วเกิดเสียง ลูกวัยนี้จะชอบเป็นพิเศษ ดังนั้น ตุ๊กตานุ่มๆ ที่ทําด้วยพื้นผ้าที่แตกต่างกันไป แขวนหรือวางของเล่นไว้ในระยะที่ลูกพอเอื้อมถึง แกว่งของ และล่อให้ลูกเอื้อมมือไปคว้าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้มีพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ถ้าพ่อ แม่สามารถที่จะเล่นร่วมไปกับการใช้ชีวิตประจําวันของลูก เช่น การอาบน้ํา การใส่ผ้าอ้อม จะเป็นสิ่งที่ ดีที่สุด นอกจากนั้นลูกวัยนี้จะเริ่มเลียนแบบเสียงพูดคุย พ่อแม่ควรพูดกับลูกโดยพยายามทําเสียงบางคํา ซ้ําๆ เพื่อให้เด็กตอบกลับมา เช่น จํา จะ เสียงพูดควรเป็นเสียงที่ลูกจะเลียนแบบได้ง่าย แม้ว่าคํานั้นจะ ไม่มีความหมายก็ตาม

6-9 เดือน: ลูกวัยนี้เริ่มที่จะเคลื่อนไหวได้เอง เรียนรู้การใช้เหตุและผลง่ายๆ เริ่มมีทักษะภาษา ที่ดีขึ้น ดังนั้นกิจกรรมที่เหมาะกับลูกวัยนี้คือ การเล่นจ๊ะเอ๋ เล่นตบแปะ การร้องเพลงที่มีการตอบสนอง พร้อมการทําท่าทางประกอบ เช่น เพลงนิ้วโป้งอยู่ไหน เพลงจับปูดํา เพลงที่ช่วยฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น แมงมุมขยุ้มหลังคา การเล่นกลิ้งลูกบอลจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อ และปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ลูกกับผู้อื่นด้วย ในช่วงต้นลูกจะสํารวจของเล่นด้วยปาก ดังนั้นตุ๊กตายางสําหรับกัด จึงเหมาะกับลูกวัยนี้ ต่อมาเมื่อลูกเก่งขึ้นจะเริ่มใช้มือและนิ้วในการสํารวจสิ่งของ

9-12 เดือน: ลูกวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้ที่จะสื่อสารบทสนทนา ง่ายๆ สั้นๆ ได้ ถึงแม้เขาจะยังมีหรือไม่มี คําพูด แต่เขาเริ่มที่จะเข้าใจภาษาท่าทางของพ่อแม่ เราควรหัดให้ลูกฝึกชี้รูปภาพจากหนังสือ โดยจับมือ ลูกชี้ที่รูปภาพที่เราพูดชื่อ และให้ลูกพูดตาม ดังนั้น หนังสือภาพจึงเป็นของเล่นที่เหมาะสมและลูกเองก็ จะมีความรู้สึกสนุกกับการเล่นแบบนี้เช่นกัน การร้องเพลงที่มีภาษาคล้องจอง ภาษาซ้ําๆ กาเอ๊ยกา ท่อง บทกลอนกล่อมลูกจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจภาษา และเป็นการฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับฐานเสียงต่างๆ ด้วย การเล่นตุ๊กตาหุ่น โดยสมมุติให้ตุ๊กตาพูดคุยกับลูกและให้เด็กตอบโต้ตุ๊กตา จะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการ ทางภาษาได้อย่างดี ลูกวัยนี้จะเริ่มเกาะยืน การให้ของเล่นลากจูงจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อ มัดใหญ่และการทํางานประสานกันของกล้ามเนื้อต่างๆ ได้อย่างสมดุล

12-24 เดือน: จุดเด่นของลูกวัยนี้คือลูกเริ่มที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น เริ่มมีความ เป็นตัวของตัวเองอยากที่จะทําสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง มีความเข้าใจการสื่อสารกับผู้อื่นโดยมีท่าทางประกอบ ต่อมาลูกเก่งขึ้นจะสามารถเข้าใจการสื่อสารกับผู้อื่นโดยไม่มีท่าทางประกอบได้เมื่ออายุขวบครึ่ง ถึงวัยนี้ เกมที่ลูกชอบเล่นคงหนีไม่พ้นเกมไล่จับ ในช่วง 1 ขวบต้นๆ บางครั้งลูกยังชอบที่จะเคลื่อนที่โดยการคลาน มากกว่าเดินแม้ว่าวัยนี้จะเริ่มตั้งไข่หรือเดินได้ 2-3 ก้าวก็ตาม โดยคุณคลานไล่จับ หรือถ้าลูกเดินได้แล้วก็ เดินไล่จับ ลูกจะสนุกสนานมากทีเดียวเพราะการเล่นนั้นเข้ากับพัฒนาการที่ลูกเริ่มทําได้ นอกจากนั้นการ เล่นเลียนแบบยังเป็นสิ่งที่ลูกวัยนี้ชื่นชอบ เช่น เห็นแม่กวาดบ้าน ลูกจะกวาดตาม การร้องเพลง ทําท่า ประกอบเข้าจังหวะเป็นการฝึกภาษาท่าทาง ทําให้ลูกได้รู้จักคําศัพท์ใหม่ๆ เพลงที่เหมาะกับวัยนี้ เช่น เพลงร่างกายเรา เพลงช้างๆ การหัดตบมือเข้าจังหวะก็เป็นอีกทักษะที่จะช่วยให้ลูกได้ฝึกการทํางานของ การเคลื่อนไหวต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน นอกจากนั้นควรอ่านหนังสือให้ลูกฟัง และให้ลูกมีส่วนร่วม ลูกวัยนี้ จะชอบหนังสือที่มีรูปเดียวเหมือนจริง เช่น รูปสัตว์ ผลไม้ ที่ฉากหลังของภาพไม่รกรุงรัง เป็นต้น

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *