เมื่อกล่าวถึงการเลี้ยงลูกน้อย พ่อและแม่ทุกๆ คนย่อมใส่ใจในทุกๆ รายละเอียด โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนอนของเด็กเล็ก เพราะเด็กเล็กจำเป็นต้องนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายและสมองของพวกเขาเกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมนั่นเองค่ะ
โดยเฉพาะ หมอน ที่ถือเป็นอุปกรณ์การนอนที่เด็กๆ จะต้องใช้งานตลอดเวลาที่กำลังนอนอยู่ ส่งผลต่อสรีระในระหว่างการนอนของเด็กๆ โดยตรง พ่อแม่หลายคนที่สงสัยอยู่ว่าจำเป็นที่จะต้องหาหมอนสำหรับเด็กโดยเฉพาะหรือไม่นั้น ขอแนะนำว่าควรหามาใช้อย่างยิ่ง เพราะว่าหากสรีระการนอนของเด็กไม่เหมาะสมก็อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กได้ ซึ่งอาจร้ายแรงจนถึงขั้นเด็กขาดอากาศหายใจได้อีกด้วย ดังนั้น การเลือกหมอนสำหรับเด็กเล็กจึงมีความสำคัญมาก และควรใส่ใจในรายละเอียดเป็นอย่างยิ่งค่ะ
คำถามที่หลายๆ คนถามกันเยอะ ทารกแรกเกิด จำเป็นต้องใช้ หมอนทารก หรือ หมอนหัวทุย หรือป่าว?
ว่าที่คุณแม่มือใหม่หลายคนคงจะปวดหัวไม่น้อย ว่าลูกน้อยของเราควรจะหนุน หมอนทารก นอนหรือไม่ แล้ว หมอนหัวทุย จำเป็นไหม กดมือถือหาข้อมูลทีไรก็หาข้อสรุปไม่ได้เสียที ไม่ต้องกังวลไปค่ะ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้หายสงสัยกันค่า
หมอนทารก ทารกควรหนุนหรือไม่?
คำแนะนำจากกุมารแพทย์ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกล่าวว่า ท่านอนที่ดีและปลอดภัยสำหรับทารกที่สุดก็คือ การนอนหงายโดยไม่หนุนอะไรทั้งสิ้น เพราะสรีระของกะโหลกศีรษะของทารก ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ทำให้พอดีในการนอนแล้วถึงแม้จะนอนหงายและนอกจากนี้จะต้องไม่มีสิ่งของอื่นๆ เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา ของเล่น ฯลฯ อยู่บนเตียงขณะลูกน้อยนอนหลับ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการนอน หรือโรคไหลตายในทารก (SIDS) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตเด็กๆ มากมายทั่วโลก และโรคนี้มักจะเกิดกับเด็กอายุไม่เกิน 4 เดือนมากที่สุด โดยที่เด็กยังแข็งแรงดีอีกด้วย แม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่หนึ่งในปัจจัยที่ชัดเจนและกระตุ้นให้เกิดการเสียชีวิตคือการที่มีผ้า วัตถุนุ่มๆ หรือการใช้ที่นอนที่อ่อนยวบเกินไป ไปอุดกั้นทางเดินหายใจของลูก จากการที่ลูกเกิดพลิกตัวนอนคว่ำ หรือคว้าวัตถุเหล่านั้นมาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเด็กยังเล็กเกินไปที่จะชันคอหรือพลิกตัวกลับได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ทารกจึงยังไม่จำเป็นต้องใช้หมอนหนุนนอนจนกว่าจะเข้าสู่วัยเตาะแตะหรือ 18 เดือนขึ้นไป หรือช้ากว่านั้นได้ยิ่งดีค่ะ
คำแนะนำจากกุมารแพทย์ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกล่าวว่า ท่านอนที่ดีและปลอดภัยสำหรับทารกที่สุดก็คือ การนอนหงายโดยไม่หนุนอะไรทั้งสิ้น เพราะสรีระของกะโหลกศีรษะของทารก ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ทำให้พอดีในการนอนแล้วถึงแม้จะนอนหงายและนอกจากนี้จะต้องไม่มีสิ่งของอื่นๆ เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา ของเล่น ฯลฯ อยู่บนเตียงขณะลูกน้อยนอนหลับ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการนอน หรือโรคไหลตายในทารก (SIDS) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตเด็กๆ มากมายทั่วโลก และโรคนี้มักจะเกิดกับเด็กอายุไม่เกิน 4 เดือนมากที่สุด โดยที่เด็กยังแข็งแรงดีอีกด้วย แม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่หนึ่งในปัจจัยที่ชัดเจนและกระตุ้นให้เกิดการเสียชีวิตคือการที่มีผ้า วัตถุนุ่มๆ หรือการใช้ที่นอนที่อ่อนยวบเกินไป ไปอุดกั้นทางเดินหายใจของลูก จากการที่ลูกเกิดพลิกตัวนอนคว่ำ หรือคว้าวัตถุเหล่านั้นมาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเด็กยังเล็กเกินไปที่จะชันคอหรือพลิกตัวกลับได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ทารกจึงยังไม่จำเป็นต้องใช้หมอนหนุนนอนจนกว่าจะเข้าสู่วัยเตาะแตะหรือ 18 เดือนขึ้นไป หรือช้ากว่านั้นได้ยิ่งดีค่ะ
กลัวลูกหัวแบน ทำไงดี?
อีกหนึ่งความกังวลใหญ่ของบรรดาแม่ๆ คือ กลัวลูกหัวแบน เพราะต้องนอนหงายตลอดเวลา ปัจจุบันจึงได้มีการผลิตคิดค้นหมอนหนุนสำหรับทารกเพื่อป้องกันหัวแบน และลูกน้อยยังคงนอนหงายได้ด้วย แต่ทั้งนี้คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่แนะนำให้ใช้หมอนหนุนมากนัก เพราะหากใช้หมอนที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ ความสูงของ หมอนทารก ที่ไม่พอดี หรือวัสดุไม่เหมาะสม ก็จะเป็นอันตรายต่อลูกได้ จึงมักแนะนำให้เปลี่ยนท่านอนเป็นนอนตะแคง หรือทุกครั้งที่ลูกน้อยตื่นนอนมาทานนม ให้เปลี่ยนท่านอน พลิกศีรษะสลับข้างแทนก็จะช่วยลดหัวแบนได้ค่ะ
อีกหนึ่งความกังวลใหญ่ของบรรดาแม่ๆ คือ กลัวลูกหัวแบน เพราะต้องนอนหงายตลอดเวลา ปัจจุบันจึงได้มีการผลิตคิดค้นหมอนหนุนสำหรับทารกเพื่อป้องกันหัวแบน และลูกน้อยยังคงนอนหงายได้ด้วย แต่ทั้งนี้คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่แนะนำให้ใช้หมอนหนุนมากนัก เพราะหากใช้หมอนที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ ความสูงของ หมอนทารก ที่ไม่พอดี หรือวัสดุไม่เหมาะสม ก็จะเป็นอันตรายต่อลูกได้ จึงมักแนะนำให้เปลี่ยนท่านอนเป็นนอนตะแคง หรือทุกครั้งที่ลูกน้อยตื่นนอนมาทานนม ให้เปลี่ยนท่านอน พลิกศีรษะสลับข้างแทนก็จะช่วยลดหัวแบนได้ค่ะ
แต่…ทั้งนี้หากคุณแม่กลัวลูกน้อยนอนไม่สบาย การเลือกใช้หมอนหัวทุย ที่มีลักษณะประคองบริเวณต้นคอ ก็จะช่วยให้นอนได้ถูกต้อง คอไม่พับเอียงได้ อาจพิจารณาจากวัสดุ และรูปทรงของหมอนที่ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ ปลอดภัยต่อการนอนของทารกด้วยนะคะ
เคล็ดลับลูกน้อยนอนสบาย ปลอดภัย และหัวทุย
คุณแม่ที่กังวลว่า หากให้ลูกนอนคว่ำ ก็จะนอนไม่ปลอดภัย แต่นอนหงายก็ห่วงว่าหัวลูกจะแบน นี่คือเคล็ดไม่ลับที่จะช่วยให้คุณแม่หมดกังวล แถมลูกน้อยนอนสบาย ปลอดภัย และหัวทุยไปพร้อมๆ กันค่ะ
คุณแม่ที่กังวลว่า หากให้ลูกนอนคว่ำ ก็จะนอนไม่ปลอดภัย แต่นอนหงายก็ห่วงว่าหัวลูกจะแบน นี่คือเคล็ดไม่ลับที่จะช่วยให้คุณแม่หมดกังวล แถมลูกน้อยนอนสบาย ปลอดภัย และหัวทุยไปพร้อมๆ กันค่ะ
เปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ แทนที่จะปล่อยให้ลูกน้อยนอนหงายนานๆ ให้คุณแม่ค่อยๆ เปลี่ยนให้ลูกนอนตะแคงซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายบ้าง ข้อควรระวัง ห้ามใช้หมอนหรือหมอนข้างมาดันหลังลูกน้อยเพื่อให้นอนตะแคงนานๆ นะคะ เพราะเสี่ยงที่ลูกจะพลิกคว่ำได้ค่ะ ปล่อยเตียงให้โล่งๆ ก็พอค่ะ อุ้มบ่อยๆ เมื่อลูกตื่นให้อุ้มลูกบ่อยๆ เพื่อลดการนอนหงายท่าเดียวนานๆ เล่นนอนคว่ำบ่อยๆ ฝึกให้ลูกนอนคว่ำบ้าง และหาของเล่น ร้องเพลง หรือชวนพูดคุย เพื่อให้ลูกฝึกชันคอ หันคอตาม กล้ามเนื้อลูกจะได้แข็งแรง เปลี่ยนตำแหน่งการวางของเล่นบ่อยๆ แทนที่จะวางของเล่นตำแหน่งเดิม ให้ลองเปลี่ยนไปวางที่ใหม่ ทุกๆอาทิตย์ จะช่วยกระตุ้นให้ลูกรู้จักหันมอง และรู้จักการเอียงศีรษะไปในทิศทางใหม่ๆ ได้มากขึ้น
สลับข้างให้นม ไม่อุ้มท่าเดิมนานๆ แต่ให้สลับเปลี่ยนข้างบ้าง
หมอนสำหรับทารกแรกเกิด
พิลโลดอลหวังว่าคุณแม่มือใหม่จะคลายข้อสงสัยเรื่องการใช้หมอนสำหรับทารกกันไปบ้างแล้ว อย่างไรคุณแม่ๆ ลองพิจารณาถึงความปลอดภัยของลูกน้อยเป็นหลักก่อนนะคะ ทั้งนี้ หากลูกน้อยมีปัญหาด้านสุขภาพ หรือปัญหาด้านการนอน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอค่ะ เรื่องๆ หมอน ไว้ใจพิลโลดอล ครบ จบ ที่นี่ที่เดียว ทั้งนี้ยังรับผลิตตุ๊กตา หมอนตุ๊กตาสามารถสั่งผลิต รวมถึงขึ้นตัวอย่างได้ทันที พร้อมให้คำปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายติดต่อได้เลยที่ 081-733-3017